สมัยนานมาแล้ว รุ่นคุณย่า ก็มักไม่ยอมมีบัตร ATM เพราะว่ากลัวว่าจะมีคนขโมยและเงินจะหายวับไป… ไม่ใช่เพียงแค่คนไทย คนอังกฤษรุ่น credit crunch ก็มักจะมีอาการ “กลัวธนาคาร” คือไม่ยอมเอาเงินไปฝากเสียด้วยซ้ำ เพราะกลัวว่า ถ้าแบงค์ล้มไปจะเป็นอย่างไร เงินที่ฉันสะสมมาจะหายไปไหน เอาเงินฝังในหีบดีกว่ามั้ย..?
“ความกลัว” เหล่านี้เกิดขึ้นได้เสมอ ๆ เมื่อมีวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามา ล่าสุดนวัตกรรมที่เรียกว่า Online Banking System ที่พยายามเข้ามา “ปฏิวัติ” วงการการธนาคารของไทยก็ต้องพยายามลงทุนเพื่อสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจจากลูกค้า ไม่เพียงแต่ให้เข้ามาในระบบ Online Banking แต่จะต้องให้ลูกค้าเข้าสู่ Online Banking ของธนาคารตนได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการธำรงอยู่ของระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของการ “บอกต่อ” ได้อย่างง่ายดายผ่าน social network
บริการ Online Banking ปัจจุบันมีแทบเกือบทุกธนาคาร (ยกเว้น ธนาคารที่เชยมาก ๆ จริง ๆ ซึ่งจะไม่ขอเอ่ยนาม) แต่ละบริการก็มีรายละเอียดที่ต่างกัน มีลูกเล่นและ incentive ที่ไม่ค่อยเหมือนกันเสียทีเดียว หากเป็นระบบที่เบสิคที่สุด ก็คือ ช่องทางการตรวจสอบเงินในบัญชีออนไลน์ โอนเงินออนไลน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธนาคารต่าง ๆ ให้บริการมานานเกือบ 10 ปี แล้ว
แต่ปัจจุบันความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และนิสัยคนไทยที่เปลี่ยนไป ทำให้ธนาคารบางแห่งได้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการให้บริการลูกค้า หลายแห่งเรียกว่า ทันสมัยมากกว่าประเทศในยุโรป-อเมริกาเสียด้วยซ้ำ จะขออนุญาตเล่าบริการที่ไปรับฟังมาจากธนาคารกรุงไทย (KTB) วันก่อน ซึ่งไปรับฟังมาหลังจากที่ไปเปิดบัตร ATM มา (หลังจากที่มี account แต่ไม่มีบัตร ATM นี้อยู่ 3 ปี!)
บริการเบสิคของ KTB เรียกว่า KTBnetbank ซึ่งก็คือรูปแบบ Online Banking แบบที่กล่าวถึงครั้งแรก คือ ใช้ทำรายการต่าง ๆ ออนไลน์ อย่างการตรวจสอบจำนวนเงิน การโอนเงินแบบทั่วไป ผ่าน www.ktbnetbank.com หรือแอพ KTB Netbank บน iOS/Android โดยใช้รหัสผ่านครั้งเดียวทิ้งที่เรียกว่า TOP (Time Out Passport) ส่งเข้าโทรศัพท์มือถือ ซึ่งก็คาดว่า มีคนไทยใช้บริการกันอยู่แล้วจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
แต่สิ่งที่ทำให้คิดว่า “เจ๋ง คิดได้ไง” คือ “Talk to Net Officer” ซึ่งก็คือบริการ Telephone Banking แต่เจ๋งตรงที่เป็นการแชตพูดคุยแบบเห็นหน้ากันระหว่างผู้พูดกับผู้ให้บริการ และสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ราวกับว่าไปที่สาขาของธนาคารเลย ที่สำคัญ คือเปิดบริการตลอด 24 ชม. ดึกดื่นอยากจะลุกขึ้นมาชำระค่าไฟก็ทำได้
วิธีการของ Talk to Net Officer อาจจะดูธรรมดา แต่สามารถตอบโจทย์ได้ถึง 2 อย่าง อย่างแรกคือ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนไทยที่ยังมี “ความขี้กลัว” กับการทำธุรกรรมแบบไม่เห็นหน้าค่าตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดก่อน Gen X ให้รู้สึกอุ่นใจว่า ได้คุยกับคน ไม่ใช่ machine ซึ่งในที่สุดแล้ว การพูดุคุยกับบุคคลแบบเห็นหน้า ก็อาจเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดก็ได้
อย่างที่สองที่ Talk to Net Officer ตอบโจทย์ ก็คือ การแก้ปัญหาปลอมแปลง identity ที่อาจเกิดกับ Telephone Banking ซึ่งโดยปกติแล้ว จะมีการสอบถามถึงข้อมูลความลับที่เป็นส่วนตัวหรือรหัส แต่คราวนี้มีหน้าตายืนยันได้ชัดเจนอีกด้วย สามารถแก้ปัญหาส่วนนี้ไปได้จนแทบเรียกว่า จะหมดไป
โฆษณาของบริการ Talk to Net Officer มีวู้ดดี้เกิดมาคุย (กับเน็ตออฟฟิศเซอร์) ผ่าน iPad
หากสาว Net Officer น่ารักเยอะ ๆ เนี่ย คนคงใช้บริการธนาคารนี้กันตรึม! (โอนเงินทุกวันชัวร์ :3) บริการนี้สามารถใช้ได้บนเว็บและแอพของ KTB Netbank เหมือนกัน
น่ารักแบบนี้ ธุรกรรมทุกวันแน่ ๆ :3
อีกบริการหนึ่งซึ่งก็เรียกได้ว่า นวัตกรรมมาเพื่อคนไทยอีกเช่นกัน นั่นคือ pay/receive with mobile พูดง่าย ๆ คือ เป็นการโอนเงินที่ KTB โฆษณาเอาไว้ว่า “ง่ายสุดขีด” คือ แค่มีเบอร์โทรศัพท์มือถือของเพื่อนก็เพียงพอแล้ว จุดขายคือ เพื่อนจะมีบัญชีของธนาคารไหนก็ได้ สำหรับฝั่งผู้โอน มีเพียง smartphone ก็เพียงพอ เอาไว้ดาวน์โหลดแอพ KTB Netbank เพื่อใช้บริการ pay/receive with mobile นี้
บริการนี้ทำได้โดยการโอนเงินไปยังสิ่งที่เรียกว่า “กระเป๋าเงินบนมือถือ” (ไม่ว่าจะทำที่สาขา / ผ่านตู้ ATM / Talk to Net Officer / KTB Online) และให้ปลายทางเบิกเงินออกมาได้จากทางตู้ ATM ของ KTB หรือสาขาใดของธนาคาร KTB ก็ได้
“แล้วเงินฉันจะหายไหม? จะถูกขโมยไหมนะ?” คำถามเรื่อง ความปลอดภัย มักมาเป็นอันดับหนึ่งเสมอ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ e-commerce ยุคสมัยไหน
KTB วางระบบตรงนี้ คล้ายกับ Online Banking ที่มี Time Out Password คือ ใช้เลขรหัสส่งเข้าโทรศัพท์มือถือ โดยในการโอนนั้น ผู้โอนและผู้รับโอนจะได้รับ Transfer Code ทางโทรศัพท์มือถือ ส่วนผู้โอนจะได้รับ Secret Code เพื่อส่งต่อให้กับผู้รับ ซึ่งรหัสทั้ง 2 ประกอบกันใช้ถอนเงินสดออกมา เพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบขึ้นอีกชั้นหนึ่ง
วงเงินการทำ pay/receive with mobile มีไว้เพื่อไม่ให้ยืมเงินกันมากเกินไป ^ ^
- เติมเงินเข้า “กระเป๋าเงิน” ได้ไม่เกิน 40,000 บาท
- โอนเงินไปยังเบอร์มือถือ/บัญชี ไม่เกิน 5,000 บาท/รายการ
- ชำระค่าสินค้าและบริการ ไม่เกิน 10,000 บาท/วัน
- ถอนเงินจากกระเป๋าเงิน เป็นเงินสด ไม่เกิน 3 ครั้ง/วัน
- จะต้องเป็นลูกค้า KTB (แน่นอน..)
- มีบัตร ATM (ไม่งั้นจะ activate KTB Netbank ไม่ได้)
- ใช้ smartphone ที่มีระบบปฏิบัติการ iOS ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4.3.3 ขึ้นไป หรือแอนดรอยบนมือถือได้ทุกรุ่น และสำหรับแอนดรอยบน tablet จะได้เฉพาะรุ่นที่เป็นโทรศัพท์และรับ sms ได้ด้วย
- ไป activate KTB Netbank เรียบร้อยแล้วแล้ว
*ในส่วนของการ pay/receive with mobile นั้น ผู้รับไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติเหล่านี้ แค่รับ sms ได้ และนำ secret code / transfer code ไปรับเงินสดเท่านั้น
วู้ดดี้มาปฏิวัติอีกระลอก
ใครอยากรู้ว่าบริการเหล่านี้เป็นอย่างไร โดยเฉพาะ pay/receive with mobile รีบ ๆ ลองใช้เสียตั้งแต่ตอนนี้ เพราะว่าใช้บริการฟรีถึง 28 ก.พ. 2556
จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันเราแทบจะไม่ต้องกลัวการทำธุรกรรมออนไลน์ เพราะระบบรักษาความปลอดภัยได้วางเอาไว้อย่างดี และที่สำคัญคือ หากธนาคารเป็นธนาคารที่น่าไว้ใจแล้ว ไม่มีอะไรจะต้องกังวล ถึงเวลานี้แล้ว
หากใครยังโอนเงินด้วยตู้ ATM หรือไปที่สาขาอยู่ละก็ คงเรียกว่าตกเทรนด์อย่างรุนแรง